ถึงแม้ธุรกิจแฟรนไชส์จะเป็นอะไรที่ลงทุนง่าย แต่ห้ามเด็ดขาด ห้ามซื้อแฟรนไชส์โดยที่ไม่ได้ศึกษารายละเอียด ไม่อย่างนั้นคุณอาจจะถูกโกงได้ง่ายๆ “การเลือกซื้อแฟรนไชส์” โดยที่ไม่ดูให้ดีก่อนก็ไม่ต่างอะไรกับการเอาเงินไปถลุงเล่น มีไม่กี่คนนักหรอกที่ได้กำไร ก็ถือว่าเค้าดวงดีที่ได้แฟรนไชส์ที่ดี แต่ถ้าเราไม่ได้เป็นคนดวงดีขนาดนั้นแบบนั้นละ และถ้าเรามีเงินอยู่อย่างจำกัด หรือต้องไปกู้เงินก้อนนั้นมาลงทุนล่ะ!!
การเลือกซื้อแฟรนไชส์ คุณมั่นใจแค่ไหนว่าสัญญาของแฟรนไชส์เซอร์ (เจ้าของแฟรนไชส์) จะไม่เอาเปรียบคุณ? หากคุณมั่นใจจริงก็โอเคค่ะ เรื่องของสัญญาไม่มีปัญหา ถือว่าเชื่อใจและทำสัญญาใจต่อกัน แต่ถ้าคำตอบของคุณคือ ไม่มั่นใจ! ควรศึกษาสัญญาให้ละเอียดครบถ้วน เพื่อสิทธิและประโยชน์ของคุณเอง เสียเวลาแค่ตอนเริ่มต้น ดีกว่าไปเสียใจในภายหลัง
ข้อสัญญากำหนดอะไรไว้บ้าง ตัวอย่างเช่น
- สามารถซื้อวัตถุดิบจากที่อื่นแทนได้หรือไม่
- ร้านของแฟรนไชส์ซี่(ผู้ซื้อแฟรนไชส์) แต่ละสาขากำหนดให้ตั้งห่างกันกี่เมตรเพื่อไม่เป็นการแย่งลูกค้ากัน
- จะต้องมีค่าธรรมเนียมรายปีหรือไม่
- ในกรณีที่ร้านประสบปัญหา เช่นขาดทุน หรือ ทำเลไม่ดี ในฐานะแฟรนไชส์เซอร์จะเข้ามาช่วยเหลืออย่างไร
- ข้อปฏิบัติและข้อห้ามในสัญญามีอะไรบ้าง
- หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิดต่อข้อกำหนดในสัญญา ผู้เสียหายอีกฝ่ายจะเรียกร้องสิทธิอะไรได้บ้าง หรือจะสามารถยกเลิกสัญญาได้หรือไม่
เอกสารทุกอย่างต้องเก็บไว้เป็นอย่างดี
การเลือกซื้อแฟรนไชส์ไม่ใช่ทำสัญญาเสร็จสรรพแล้วก็ทิ้ง หากเกิดปัญหาขึ้นภายหลังจะได้มีหลักฐานมายืนยันได้ และควรทำให้ติดเป็นนิสัย การทำธุรกิจควรทำอย่างรอบคอบในทุกๆด้าน ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบโดยรวม และใส่ใจในเรื่องเล็กๆน้อยๆ
สมมุติว่าทำธุรกิจมาได้ไม่กี่เดือน เคาเตอร์เกิดชำรุดเสียแล้ว กรณีแบบนี้คุณจะเอาผิดกับแฟรนส์เซอร์ได้อย่างไรถ้าหากไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการตกแต่งร้าน (หรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง) หากจะแจ้งให้มาซ่อมก็ลำบาก
ข้อคิดก่อนตัดสินใจทำธุรกิจ
- อย่าไว้ใจใครง่ายๆ ถึงแม้แฟรนไชส์จะน่าเชื่อถือแค่ไหน แต่ต้องศึกษาเองจะดีที่สุด
- ก่อนการเลือกซื้อแฟรนไชส์ให้มองหาโอกาสและความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจ
- แต่ก่อนจะตัดสินใจ ให้มองด้านลบให้มากกว่าด้านบวก เพื่อความไม่ประมาทและเพื่อความมั่นใจ เมื่อเกิดปัญหาจะได้ตั้งรับได้ถูกทาง
- มองหาทางแก้ไว้มากกว่า 2 ทางเสมอ
- เตรียมเงินไว้หมุน อย่างน้อย 20-50% ของเงินลงทุนในตอนแรก
- ฟังคำแนะนำของคนรอบข้างให้มาก เพื่อน พ่อแม่ ครอบครัว ลูกค้า
- “ช้าๆได้พร้าเล่มงาม” คำคมโบราณยังใช้ได้เสมอ วางแผนให้รอบคอบอย่าใจร้อน
- ศึกษาทางเลือกให้มากๆ แล้วเปรียบเทียบสิ่งที่ดีที่สุด เหมาะกับเราที่สุด การมีทางเลือกเดียวอันตรายต่อธุรกิจ