ในปัจจุบันผู้คนหันมาให้ความสนใจในการหารายได้เพิ่มมากขึ้น บางรายอาจจะเป็นหารายได้เสริมเพิ่มเติมจากงานประจำ หรือมองหาอาชีพที่สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้โดยง่าย และเลือกคำตอบให้ธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นคำตอบที่น่าสนใจในการลงทุน จึงทำให้คนรุ่นใหม่หลายคนหันมาเลือกซื้อและประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เป็นจำนวนมาก รวมไปถึงผู้ที่มีเงินลงทุนแต่ยังหาแนวทางในการหารายได้เสริมไม่ได้นั้น ก็หันมาซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ด้วยกันทั้งสิ้น
ในบทความที่ผ่านมาเราได้ทราบกันแล้วนะคะว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ นี้ดีอย่างไร แต่อย่าลืมนะคะว่าทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีสองด้านอยู่เสมอ ยิ่งเป็นเรื่องธุรกิจด้วยแล้วนั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนและคิดก่อนลงมือและตัดสินใจให้รอบคอบ คำโฆษณาของธุรกิจแฟรนไชส์ซึ่งมักจะเป็นคำโฆษณาสวยหรูว่า ลงทุนง่าย คืนทุนไว แต่เดี๋ยวก่อน…อย่าเพิ่งตัดสินใจ ถ้ายังไม่ได้อ่านบทความนี้ เพราะธุรกิจแฟรนไชส์ที่มองว่าดีนั้นก็อาจจะมีจุดด้อยในการทำธุรกิจประเภทนี้เช่นเดียวกัน
4 จุดด้อยในธุรกิจแฟรนไชส์ มีอะไรบ้าง
1. ธุรกิจอาจจะไม่ได้ดีอย่างที่คิด
อ่านไม่ผิดหรอกค่ะ ถึงแม้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนได้นั้น แต่ธุรกิจแฟรนไชส์ก็มิใช่ธุรกิจครอบจักรวาลที่จะสามารถตอบโจทย์และความต้องการของลูกค้าได้ทั้งหมด บางรายเจอเจ้าธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่ดี ก็อาจจะสร้างความเสียหายและสูญเงินลงทุนเป็นจำนวนมากได้เช่นเดียวกัน
2. เจ้าของธุรกิจ ก็คือ เจ้าของธุรกิจ
แน่นอนค่ะว่าการซื้อแฟรนไชส์ที่เราเป็นผู้ลงทุนประกอบธุรกิจดังกล่าวนั้น แต่เราก็ไม่ใช่ทั้งหมดของธุรกิจ เพราะถึงอย่างไรอำนาจในการตัดสินใจทั้งหมดก็ตกไปอยู่ที่เจ้าของธุรกิจทั้งสิ้น หากธุรกิจประสบความสำเร็จ ผลตอบรับและกำไรก็อาจจะมีสัดส่วนและแบ่งแก่เจ้าของร้านตามสัดส่วนเงินลงทุน แต่ถ้าหากร้านของคุณขาดทุนนั้น เจ้าของธุรกิจก็ไม่ได้ขาดทุนตามไปด้วย
3. ความเสี่ยง ทุกธุรกิจมีความเสี่ยง
ธุรกิจแฟรนไชส์ ก็เช่นเดียวกัน ไม่มีเจ้าของธุรกิจแบบไหนที่สามารถตอบโจทย์และความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร้ที่ติ ไร้ข้อบกพร่อง หากธุรกิจแฟรนไชส์ที่คุณเลือกซื้อมานั้น ไม่คืนทุน หรือไม่ได้รับผลกำไรเท่าที่ควร แต่เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ก็ไม่ได้มีหน้าที่รับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
4. เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก
ธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นธุรกิจแบบฉบับสมบูรณ์ และสำเร็จรูปในเรื่องวิธีการ ระบบในการบริหารและจัดการร้าน ดังนั้นหากธุรกิจแฟรนไชส์อยู่ในกระแสและได้รับความนิยม หรือเป็นที่รู้จักเป็นจำนวนมากนั้น เงินที่ใช้ลงทุนในการซื้อแฟรนไชส์เพื่อมาขายก็อาจจะมีจำนวนเงินลงทุนสูงขึ้นอีกด้วย
การใช้เงินลงทุนจำนวนมากก็ไม่ได้เป็นสิ่งรับรองด้วยว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่คุณซื้อมานั้นจะประสบผลสำเร็จ และอาจจะไม่ผลกำไรตอบแทนเป็นจำนวนมากดังเช่นคำโฆษณา หรือเงินลงทุนเป็นจำนวนมากก็อาจจะไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่สูญเสียไปก็เป็นได้