อัพเดทล่าสุด
หน้าแรก / ธุรกิจ SMEs / ผู้ประกอบการณ์ทั้งหลายควรรู้ หน่วยงานสำคัญๆที่สนับสนุน SME มีอะไรบ้าง

ผู้ประกอบการณ์ทั้งหลายควรรู้ หน่วยงานสำคัญๆที่สนับสนุน SME มีอะไรบ้าง

SME มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก นั่นก็เพราะมีสัดส่วนกว่า 96% ของเศรษฐกิจโดยรวม ถึงแม้แต่ละธุรกิจจะมีขนาดเล็กแต่เมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนมากขนาดนี้ จึงมีสถาบันที่เกี่ยวข้องกับ SME มากมายเข้ามาสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงสถาบันการเงินต่างๆ มาดูกันว่า สถาบันสำคัญๆที่เกี่ยวข้องกับ SME มีอะไรบ้าง

sme

1. สสว. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

  • สสว. เป็นหน่วยงานของรัฐบาล มีหน้าที่ในการวางนโยบายต่างๆ เป็นศูนย์กลางในการประสานงาน มีบทบาทในการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริม SME
  • มีหน้าที่ในการผลักดัน, พัฒนาระบบ, ส่งเสริม SME, รวมถึงดูแลเรื่องความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้ขับเคลื่อนตามแผนปฏิบัติงานให้บรรลุผล
  • มีหน้าที่ในการพัฒนาองค์ความรู้และข้อมูลอยู่เสมอ เพื่อประโยชน์ต่อวิสากิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  • รวมถึงบริหารกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้เป็นเครื่องมือในกาสนับสนุนธุรกิจ SME อย่างมีประสิทธิภาพ (http://www.sme.go.th/th/)

บ

2. บสย. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม

บสย. เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบาล (ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง) ชื่อ “บสย.” ก็บอกอยู่แล้วว่าเป็น “บรรษัทประกินสินเชื่อให้ อุตสาหกรรมขนาดย่อม” เนื่องจากการขอกูเงินจากแหล่งเงินทุนที่ไหนก็ตามย่อมจำเป็นต้องใช้ผู้คำประกัน แต่ในความเป็นจริงบางธุรกิจก็ไม่ได้หาผู้ค้ำประกันได้ง่ายๆ อาจจะมาจากหลายปัจจัย ทั้งความน่าเชื่อถือไม่มากพอ หรือธุรกิจเรายังใหม่เกินไป

  • บสย. จึงเข้ามามีบทบาทในส่วนนี้ โดยการเป็นสถาบันในการค้ำประกัน ทำให้ SME เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น
  • สถาบันการเงินเองก็มีความมั่นใจในการให้สินเชื่อแก่ SME มากยิ่งขึ้น
  • นอกจากจะเป็นผู้ค้ำแล้ว ยังมีบทบาทในการพัฒนา SME ให้มีคุณภาพในการประกอบกิจการของตน
  • ในขณะเดียวกันก็พัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ บสย.จึงมีประสิทธิภาพและมีความน่าเชื่อถือ
    (http://www.tcg.or.th/TH/index.php)

s

3. ISMED สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

  • เป็นสถาบันที่เน้น พัฒนาผู้ประกอบการรายเดิม และ สร้างผู้ประกอบการรายใหม่ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับ SME
  • กิจกรรมหลังคือการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ประกอบการในรูปแบบการฝึกอบรม สัมมนา เรียนรู้ทางไกล และอื่นๆ
  • ให้คำปรึกษา คำแนะนำ ทั้งในเรื่องทำการตลาด การปรับปรุงกิจการ รวมถึงลงทุนและ
  • ร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการที่ต้องการความช่วยเหลือด้านเงินทุน
    ร่วมมือระหว่างภาคเอกชนต่างๆเพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

CC-74

4. SME Bank ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

เป็นสถาบันการเงินของภาครัฐ ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรม

  • มีวัตถุประสงค์ในการให้สินเชื่อ, ค้ำประกัน, ร่วมลงทุน, ให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำสำหรับกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  • มีหน้าที่หลักในการพัฒนา, ส่งเสริม, ช่วยเหลือ, สนับสนุนการจัดตั้ง รวมถึงการขยายกิจการของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  • SME bank เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเปิด AEC จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบบริหารจัดการ และพัฒนาบุคลากรให้พร้อมบริการลูกค้าในอนาคตด้วย

nstda

5. สวทช. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ชื่อนี้อาจจะคุ้นหูคุ้นตากันดี แต่ก็คงสัยสัยใช่มั้ยคะว่าเกี่ยวข้องกับ SME อย่างไร

  • บทบาทของ สวทช. ต่อ SME คือเป็นส่วนที่คอยทำหน้าที่สนับสนุนผู้ประกอบการ SME ในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  • เพราะเมื่อ SME มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีมากขึ้น ก็ย่อมมีศักยภาพในการแข่งขัน และเพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น
สวทช. จึงมีเปรียบเสมือนการเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา พัฒนาฝึกอบรม และยังเป็นตัวกลางทำให้ SME เข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นได้มากขึ้นอย่างเช่น เป็นตัวกลางในการหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางให้แก่ SME ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำความรู้เรื่องการวิจัยกลับไปพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตของตนได้

นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของหน่วยงานที่มีบทบาทโดยตรงต่ออุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมนะคะ ยังมีหน่วยงานอื่นๆอีกที่มีส่วนร่วมในการสนับสนุน เช่นด้านการส่งออก หน่วยงานส่งเสริมของต่างประเทศ รวมถึงธนาคารเอกชนที่จับมือกับหน่วยงานต่างๆ ถึง SME จะเป็นธุรกิจขนาดเล็กแต่ก็เป็นที่น่าชื่นใจเพราะมีพี่เลี้ยงอยู่มากมาย

advertisement

About Admin

"สยามอาชีพ" อาชีพเสริม สร้างอาชีพ สร้างรายได้

Leave a Reply

Your email address will not be published.