ถ้ามองธุรกิจทั้งระบบเป็น 100% รู้มั้ยคะว่ามีธุรกิจ SME เป็นสัดส่วนถึง 90% แถมธุรกิจ SME ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่เริ่มต้นจากภายในครอบครัว มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น แต่ “ธุรกิจ SME ครอบครัว” ส่วนใหญ่กลับสืบทอดต่อไปได้แค่ไม่กี่รุ่น อย่างเก่งก็สู่รุ่นลูกและรุ่นหลาน มีน้อยมากที่จะสามารถพัฒนาไปสู่รุ่นที่ 4 ได้ ซึ่งไม่เฉพาะในไทยเท่านั้นแต่เป็นทั่วโลก
มีหลายสาเหตุที่ทำให้ ธุรกิจครอบครัว SME ไม่สามารถอยู่รอดได้
จะสังเกตว่า ธุรกิจครอบครัวรุ่นแรกมี “ความสัมพันธ์” ที่ใกล้ชิดกันมาก สามีบริหาร ภรรยาดูแลบัญชี อาจมีน้องชายช่วยดูแลคลังสินค้า พอตกมาสู่รุ่นลูกความผูกพันธุ์ระหว่างน้ากับหลานย่อมไม่ใกล้ชิดเท่าพี่กับน้อง ยิ่งตกมาถึงรุ่นหลาน ความเหนียวแน่นยิ่งจากลงไป ทำให้แต่ละรุ่นเหินห่างกันไปเรื่อยๆ
ความรู้สึกที่มีต่อธุรกิจก็เช่นกัน รุ่นก่อตั้ง ธุรกิจSME ย่อมรู้สึกซาบซึ้ง และเห็นคุณค่าของธุรกิจที่ตัวเองสร้างมากับมือ ส่วนรุ่นลูกหลานนั้น จะซาบซึ้งและหวงแหนเท่าบรรพบุรุษรึเปล่าเป็นเรื่องที่ตอบยาก ยิ่งถ้าลูกหลานคนไหนไม่มีใจรักยิ่งแย่เลยนะคะ เมื่อความรักความหวงแหนในธุรกิจแตกต่างกัน มุมมองที่มีต่อธุรกิจจึงแตกต่างกัน
ทายาทไม่มีความพร้อม ลูกหลานบางคนเพิ่งเรียนจบใหม่ๆ อยากหาประสบการณ์ชีวิต หรือมีความฝันมากมายที่อยากทำ ถ้าเค้า “ถูกบังคับ” แน่นอนว่าธุรกิจกับทายาทรุ่นต่อไปเกิดปัญหา 100% ค่ะ นอกจากจะส่งผลเสียต่อธุรกิจแล้ว ยังส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวด้วย
ทำอย่างไรจึงจะหาจุดเชื่อมโยงระหว่างรุ่นได้
ปัญหาที่เกิดในช่วงเปลี่ยนผู้บริหารนั้นส่วนใหญ่จะโฟกัส “คนที่รับช่วงต่อ” ซึ่งชอบถูกเพ่งเล็งว่ามีศักยภาพเพียงใด แต่ทั้งนี้ยังมีเหตุผลอื่นประกอบอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงสร้างบริหาร วัฒนธรรมองค์กร ความคุ้นเคย หรือทักษะต่างๆ พ่อแม่เคยให้ลูกมีส่วนร่วมดูแลธุรกิจบ้างหรือไม่ ทุกอย่างล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้นค่ะ
- สร้างความผูกพันระหว่างธุรกิจกับทายาท
ลูกหลานโตมาได้ด้วยธุรกิจของครอบครัว ได้มีกินมีใช้ มีชีวิตที่สุขสบายก็เพราะธุรกิจของครอบครัว แต่เชื่อมั้ยคะว่า ทายาทหลายคนไม่รู้อะไรเกี่ยวกับธุรกิจเลย! ไม่รู้แม้แต่กระทั้งว่าสินค้าของเราเป็นธุรกิจกลุ่มใด ลูกค้าซื้อไปทำอะไร นี่เป็นสิ่งสำคัญมาก เมื่อธุรกิจกับทายาทไม่มีความผูกพันกันเลย แล้วจะใช้ชีวิตด้วยกันได้อย่างไรจริงมั้ยคะ
- ทักษะ ความสามารถ พ่อแม่ปูพื้นฐานพร้อมหรือยัง
ถ้าทายาทที่เติบโตวิ่งเล่นมากับกิจการของพ่อแม่ เป็นสิ่งที่ดีมากเพราะเค้าจะซึมซับอัตโนมัติ ถึงโตมาเค้าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม แต่ถ้าถามว่าทำได้มั้ย? แล้วคำตอบคือ “ทำได้…ทำเป็น” อย่างนี้จะไม่ห่วง โตขึ้นเค้าอาจเลือกชีวิตของตัวเอง อยากไปทำงานอื่น อยากไปเรียนต่อ แต่ถ้าถึงคราวที่ต้องกลับมารับช่วงต่อจริงๆ เค้าจะทำได้ดีเพราะมันเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเค้าไปแล้ว
- แก้ไขความรู้สึกที่ต้องแบกรับความกดดัน
ช่วงที่จะส่งต่อธุรกิจให้รุ่นลูกหลานดูแล แอดมินว่าต่างฝ่ายต่างเครียดพอกัน พ่อแม่กังวลว่าลูกจะดูแลธุรกิจในอนาคตได้หรือไม่ ถ้าลูกไม่ดูแลธุรกิจจริงๆจะเป็นอย่างไร ลูกก็เครียดที่ถูกบังคับ ยิ่งถ้าอยู่ในช่วงมีไฟ กำลังมีความฝันของตัวเองยิ่งจะดื้อให้สุดทาง จึงทำให้ลูกหลานกดดัน บางคนเป็นปมเพราะรู้สึกผิดที่ไม่สามารถดูแลกิจการของครอบครัวได้ ซึ่งส่งผลเสียมากนะคะ ก้าวต่อไปไม่ว่าเค้าจะทำธุรกิจของตัวเอง หรือกลับมาดูธุรกิจของครอบครัว เค้าจะเกิดความกดดันตัวเองว่าสามารถทำได้จริงหรือไม่ความรู้สึกผิดจะคอยรบกวน และเกิดความล้มเหลวในการบริหารงานได้ง่ายค่ะ
- เดินคนละครึ่งทาง ในเรื่องการบริหาร
เมื่อธุรกิจถึงมือลูก ต่างคนย่อมต่างต่างสไตล์ พ่อแม่หรือปู่ย่าไม่จำเป็นต้องคุมทุกเรื่อง จงผันตัวเองออกมาเป็นที่ปรึกษาแล้วปล่อยให้เค้าทำไป “ตามสไตล์ของเค้า” ดีกว่าค่ะ เค้าจะมีความสุขและภาคภูมิใจในตัวเอง สิ่งไหนผิดหรือเห็นว่าอันตรายต่อธุรกิจ ค่อยแนะนำปรึกษากัน ไม่แน่ธุรกิจรุ่นลูกอาจจะเป็นยุคของการพัฒนาก็ได้นะ
- ให้เวลาลูกหลานในการเรียนรู้
เริ่มจาเรื่องที่ถนัด เช่น การเงิน การดูแลการส่งออก ถัดมาค่อยไปดูแลเรื่องการผลิต เก่งแล้วค่อยให้รับผิดชอบเรื่องการบริหารภาพรวม คือไปทีละสเตป เค้าจะได้ไม่เครียดมากเกินไป