อัพเดทล่าสุด
หน้าแรก / ธุรกิจแฟรนไชส์ / 10 แฟรนไชส์ “ร้านกาแฟ” ยอดฮิต ชื่อติดตลาดในเมืองไทย 2564

10 แฟรนไชส์ “ร้านกาแฟ” ยอดฮิต ชื่อติดตลาดในเมืองไทย 2564

กาแฟ เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกเช่นเดียวกับชาและน้ำทำมาจากเมล็ดกาแฟจากต้นกาแฟ โดยนิยมดื่มแบบร้อนๆ แต่ก็สามารถดื่มแบบเย็นได้ ซึ่งกาแฟมีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ กาแฟดำ, เอสเพรสโซ่, คาปูชิโน่, มอคค่า, ลาเต้และอเมริกาโน่ รวมถึงการนำกาแฟไปประยุกต์กับน้ำชนิดอื่นให้เกิดเป็นรสชาติใหม่ๆ เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคและทำให้เมนูกาแฟมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นด้วย

ธุรกิจร้านกาแฟแน่นอนว่ามีทั้งคนที่ทำแล้วรุ่งและไม่รอด ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้มีทั้งเรื่องของทำเล กลุ่มลูกค้า ราคา คู่แข่ง รสชาติ ความสะอาด ความรวดเร็ว ความใส่ใจ การตลาด จุดเด่น สิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงปัจจัยอื่นๆที่อาจเกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้คุณควรวิเคราะห์สิ่งเหล่านี้ เพื่อเป็นกรณีศึกษาว่าทำไมกาแฟร้านนี้ถึงประสบความสำเร็จมากทำไมบางร้านถึงไปไม่รอดเลยมีปัจจัยอะไรที่ส่งผลบ้าง หากคุณสนใจและต้องการจะลงทุนทำธุรกิจร้านกาแฟ

แต่หากคุณไม่ถนัดวิเคราะห์ธุรกิจและตลาดมากนัก แต่สนใจในธุรกิจนี้มากบวกกับมีเงินพร้อมลงทุน “แฟรนไชส์ร้านกาแฟ” ก็เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจไม่ใช่น้อยนะคะเพราะคุณไม่ต้องเสียเวลาทำแผนการตลาด วิเคราะห์คู่แข่ง หรือกลุ่มลูกค้าเลยเพราะแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์นั้น เตรียมทุกอย่างให้คุณหมดแล้ว คุณเพียงแค่ศึกษาข้อมูลของแต่ละแฟรนไชส์ให้เข้าใจ และเตรียมเงินสำหรับลงทุนให้พร้อม เท่านี้ คุณก็สามารถมีธุรกิจร้านกาแฟของตัวเองได้แล้วค่ะ

มาดูกันดีกว่าว่า “10 แฟรนไชส์กาแฟยอดฮิต ชื่อติดตลาดในเมืองไทย” มีอะไรบ้าง เพื่อที่คุณจะได้นำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจง่ายขึ้นนะคะ

ร้านยอดนิยมของคนไทย ซึ่งปัจจุบันเราจะเห็น Café Amazon อยู่ในปั๊มปตท. เกือบทุกปั๊มเลยก็ว่าได้ โดยแรงบันดาลใจในการก่อตั้งของร้าน Café Amazon นั้นมาจากแหล่งกาแฟที่มีชื่อเสียงของโลก คือประเทศบราซิล ซึ่งเป็นต้นตำรับแห่งกาแฟ ผนวกกับเมื่อคิดถึงป่า Amazon ก็จะคิดถึงความร่มรื่นของธรรมชาติอันประกอบด้วยแมกไม้และเสียงน้ำไหลที่ให้ความร่มเย็น ร้าน Café Amazon จึงมีแนวคิดที่อยากให้เป็นร้านกาแฟที่สามารถนั่งพักผ่อนระหว่างการเดินทาง หรือเป็นแหล่งนัดพบของกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ที่นิยมดื่มกาแฟที่มีรสชาติอร่อยเข้มข้น พร้อมบรรยากาศเย็นสบายด้วยร่มไม้ล้อมรอบ

รายละเอียด : งบประมาณการลงทุนมีให้เลือก 2  รูปแบบ คือ

  • Stand Alone ขนาดพื้นที่ 100 – 200 ตร.ม. ขึ้นไป (รวมสวนหย่อม) ร้านจะมีลักษณะเป็นอาคารเดี่ยว ตั้งอยู่บนที่ดินที่มีศักยภาพเพียงพอและมีความเหมาะสมต่อการเปิดธุรกิจร้านกาแฟ Café Amazon รวมราคาตั้งแต่ค่าก่อสร้าง จนถึงค่าอุปกรณ์ทั้งหมด (ไม่รวม VAT) 2,649,000-4,209,000 บาท
  • Shop ขนาดพื้นที่ 40 ตร.ม. ขึ้นไป (ตั้งอยู่ภายในอาคาร เช่น อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า อาคารพาณิชย์ ฯลฯ และต้องมีผู้คนผ่านไปมาไม่น้อยกว่า 3,000 คนต่อวัน) รวมราคาตั้งแต่ค่าก่อสร้าง จนถึงค่าอุปกรณ์ทั้งหมด (ไม่รวม VAT) 2,349,000-3,709,000 บาท

ปล. ค่า Royalty Fee + ค่า Marketing Fee : 3% + 3% ของยอดขายรายเดือน, ค่าเช่าเครื่อง Point of Sale (POS) : 24,000 บาท/ปี, อายุสัญญา 6 ปี (Renovate ร้านทุก 3 ปี)

  • แฟรนไชส์ Chao Doi Coffee

ด้วยคำนิยามจากเมล็ดกาแฟดิบ ไปสู่การ “คั่ว” ด้วยกลิ่นหอมอันยั่วยวน และรสชาติ “เข้ม” ที่โดดเด่นจากเมล็ดกาแฟคั่ว “ชาวดอย” ได้เกิดมาจากความพิถีพิถันในการคัดสรรเมล็ดกาแฟดิบคุณภาพสูง และกระบวนการคั่วสูตรเฉพาะของ “ชาวดอยคอฟฟี่” ทำให้ได้กาแฟที่เต็มเปี่ยมด้วยคุณภาพ และรสชาติที่กลั่นออกมาจากใจสู่คุณ…ลูกค้าจะมั่นใจได้เลย ว่ารสชาติ และคุณภาพของกาแฟสดชาวดอยนั้น แน่นทุกแก้วจริงๆ

รายละเอียด : งบประมาณการลงทุน (แล้วแต่ขนาดของธุรกิจ)

  • Coffee (กาแฟ)
    • Coffee Set A 329,500 บาท
    • Coffee Set B 350,500 บาท
    • Coffee ชุดตู้ขาย A – 408,500 บาท
    • Coffee ชุดตู้ขาย B – 473,500 บาท
    • ชุดการขาย S ขนาดพื้นที่ 11.50 ตรม. : ค่าโครงสร้างโดยประมาณ 300,000 บาท และค่าชุดธุรกิจ 430,000 บาท
    • ชุดการขาย M ขนาดพื้นที่ 23.40 ตรม. : ค่าโครงสร้างโดยประมาณ 600,000 บาท และค่าชุดธุรกิจ 430,000 บาท
    • ชุดการขาย L ขนาดพื้นที่ 59.30 ตรม. : ค่าโครงสร้างโดยประมาณ 1,200,000 บาท และค่าชุดธุรกิจ 430,000 บาท
  • Bubble Tea (ชานมไข่มุก)
    • Bubble Tea Set A 265,000 บาท
    • Bubble Tea Set B 429,500 บาท
    • Bubble Tea ชุดตู้ขาย A 174,500 บาท
    • Bubble Tea ชุดตู้ขาย B 195,500 บาท
  • Coffee (กาแฟ) & Bubble Tea (ชานมไข่มุก)
    • ชุดบูธ 447,500 บาท
    • ชุดการขาย S ขนาดพื้นที่ 11.50 ตรม. : ค่าโครงสร้างโดยประมาณ 300,000 บาท และค่าชุดธุรกิจ 465,000 บาท
    • ชุดการขาย M ขนาดพื้นที่ 23.40 ตรม. : ค่าโครงสร้างโดยประมาณ 600,000 บาท และค่าชุดธุรกิจ 465,000 บาท
    • ชุดการขาย L ขนาดพื้นที่ 59.30 ตรม. : ค่าโครงสร้างโดยประมาณ 1,200,000 บาท และค่าชุดธุรกิจ 465,000 บาท

ปล. ราคาที่กล่าวมารวม VAT แล้ว และคุณยังได้รับการกอบรม การส่งเสริมการตลาด ตลอดจนคำปรึกษา การช่วยเหลือในการทำธุรกิจ

  • แฟรนไชส์ Coffee Today

คอฟฟี่ ทูเดย์ ยึดหลักคำกล่าวที่ว่า “กาแฟทุกแก้วมาจากแรงบันดาลใจ” ซึ่งมีการคิดค้นสูตรกาแฟสดที่สามารถทำให้คนไทยบริโภคได้อย่างถูกปาก ด้วยราคาที่ไม่แพง จึงเกิดเป็นกาแฟสดสูตรอย่างไทย ที่หอม ละมุน กลมกล่อม และไม่เข้มจัด ทำให้ทุกคนสามารถดื่มได้ง่าย

รายละเอียด : รูปแบบร้านแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

  • Kiosk ใช้พื้นที่ประมาณ 4-10 ตร.ม. จะเน้นให้บริการลูกค้าแบบ Take-Away
  • Conner ใช้พื้นที่ประมาณ 10-20 ตร.ม. จะเน้นให้บริการลูกค้าแบบ Take-Away และ Sit-in โดยจะมีเฟอร์นิเจอร์สำหรับรองรับลูกค้า แต่แค่ไม่กี่ชุด
  • Shop ใช้พื้นที่ตั้งแต่ 21 ตร.ม. ขึ้นไป จะเน้นให้บริการลูกค้าได้ทุกรูปแบบ และมีเฟอร์นิเจอร์ แบบเต็มรูปแบบไว้ให้บริการลูกค้า

ในส่วนของงบประมาณการลงทุนนั้น ได้แก่

  • ค่าแฟรนไชส์ 30,000 บาท สำหรับสัญญา 3 ปี (ในกรณีต่อสัญญา ปีที่ 4 จะเรียกเก็บอีกครั้ง)
  • ค่าโลแยลตี้ สำหรับการดำเนินธุรกิจภายใต้ แบรนด์ Coffee Today รายปี ปีละ 30,000 บาท
  • เงินประกันสัญญาแฟรนไชส์ 50,000 บาท (จะได้คืนเมื่อหมดสัญญา)
  • เงินลงทุนในการก่อสร้าง ตกแต่งร้าน เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆในร้าน เริ่มตั้งแต่ 450,000 – 750,000 บาท ขึ้นอยู่กับรูปแบบร้าน และพื้นที่ร้าน
  • ค่าวัตถุดิบต่างๆ ในการเริ่มต้นธุรกิจ 20,000 – 30,000 บาท

  • แฟรนไชส์กาแฟดอยช้าง

ในแต่ละกระบวนการผลิตและแปรรูปกาแฟดอยช้าง ถูกคัดสรรจนได้ขั้นตอนที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างสรรค์รสชาติจนทำให้กาแฟของดอยช้างเป็นกาแฟอราบิก้าชนิดพิเศษ ที่ปลูกเฉพาะบริเวณดอยช้างเท่านั้น โดยได้ตรารับรองมาตรฐานระดับสากลมากมายด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตรงกลิ่นที่หอมเป็นพิเศษ เจือรสเปรี้ยว (กรดจากผลไม้) ที่ดื่มแล้วทำให้รู้สึกชุ่มคอ มีสารคาเฟอีนต่ำ มีรสชาติที่กลมกล่อม เป็นความลงตัวระหว่างพื้นที่เพาะปลูกกับลักษณะภูมิประเทศที่เป็นที่สูงและมีอากาศหนาวเย็นตลอดปี ประกอบกับการดูแลเอาใจใส่ในทุกขั้นตอน ทำให้ได้กาแฟอราบิก้าที่มีคุณภาพสูง ดังคำกล่าวที่ว่า “กาแฟดอยช้าง เอกลักษณ์กาแฟไทย สุดยอดกาแฟโลก”

รายละเอียด : รูปแบบร้านแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

  • Coffee Venue
    • พื้นที่ : 30-100 ตรม.
    • ค่าก่อสร้างและตกแต่ง : 400,000 – 1,500,000 บาท
    • ค่าออกแบบ ( 8% ของราคาก่อสร้าง) : 32,000 – 120,000 บาท
    • เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์เครื่องชงกาแฟและ POS : 840,000 บาท
    • ค่าประกันแบรนด์ : 100,000 บาท
    • ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ : 150,000 บาท
    • อุปกรณ์การขายและสต็อคเริ่มต้น : 50,000 บาท
    • ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด : 30,000 บาท
    • ประมาณการลงทุนรวม : 1,602,000 – 2,790,000 บาท
  • Stand Alone
    • พื้นที่ : 60-130 ตร.ม.
    • ค่าก่อสร้างและตกแต่ง : 1,000,000 – 2,000,000 บาท ไม่รวมสวนหย่อม
    • ค่าออกแบบ ( 8% ของราคาก่อสร้าง) : 80,000 – 160,000 บาท
    • เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์เครื่องชงกาแฟและ POS : 849,000 บาท
    • ค่าประกันแบรนด์ : 100,000 บาท
    • ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ : 150,000 บาท
    • อุปกรณ์การขายและสต็อคเริ่มต้น : 50,000 บาท
    • ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด : 30,000 บาท
    • ประมาณการลงทุนรวม : 2,269,000 – 3,340,000 บาท

ปล. ค่า Royalty Fee คำนวณจากขนาดของร้าน : 30 – 50 ตรม. 5,000.- / เดือน, 54 – 100 ตรม. 8,000.- / เดือน, 101 ตรม. ขึ้นไป 12,000.- / เดือน ส่วนอายุสัญญามีระยะเวลา 5 ปี

  • แฟรนไชส์อินทนิล

ธุรกิจอินทนิล” ได้รับความไว้วางใจในการส่งมอบความสุขในการดื่มกาแฟ ให้กับลูกค้ามาร่วม 10 ปี ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 400 สาขาทั่วประเทศ อีกทั้งร้านกาแฟอินทนิล ยังมีความพิถีพิถันในการคัดสรรวัตถุดิบเกรดพรีเมียมเพื่อให้ผู้ที่รักการดื่มกาแฟและรักสุขภาพ ได้สัมผัสถึงรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะอีกด้วย

รายละเอียด : ร้านอินทนิล คอฟฟี่

  • ระยะเวลาให้สิทธิ 6 ปี
  • ค่าธรรมเนียมแรกเข้า (Franchise Fee) : 200,000 บาท
  • เงินค้ำประกันสัญญา : 100,000 บาท
  • ค่าออกแบบและจัดทำแบบก่อสร้าง : 50,000 บาท
  • ค่าบริการ Software ระบบ POS รายปี : 27,000 บาท
  • เงินลงทุนค่าอุปกรณ์การขาย และวัตถุดิบครั้งแรก : 450,000 บาท
  • การก่อสร้างและตกแต่งร้าน (ประมาณการ) : 1-2 ล้านบาท
  • ค่าส่วนแบ่งรายได้ (Loyalty Fee) 6% จากยอดขาย

ปล. มีการฝึกอบรม คู่มือการปฏิบัติการ และทีมงานที่สนับสนุน ให้คำปรึกษา

  • แฟรนไชส์ Rabika Coffee

จากความหลงใหลและต้องมนต์เสน่ห์ของกลิ่นหอมอันเย้ายวนและรสชาติที่เยี่ยมยอดโดนใจของกาแฟพันธุ์ดี กลายมาเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟมาตรฐานสากล “RABIKA COFFEE” ซึ่งจากร้านกาแฟเล็กๆ 1 ร้าน กลายมาเป็นร้านกาแฟในรูปแบบแฟรนไชส์กว่า 100 สาขา โดยมีจุดเด่นที่สูตรลับเฉพาะโดดเด่นไม่เหมือนใคร และยากที่ใครจะเลียนแบบ

รายละเอียด : รูปแบบร้านแบ่งตามขนาดพื้นที่

  • ขนาด 36 ตร.ม. ราคา 1,560,000 บาท
  • ขนาด 48 ตร.ม. ราคา 1,695,000 บาท
  • ขนาด 60 ตร.ม. ราคา 1,795,000 บาท
  • เงินค้ำประกันสัญญา 50,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมรายเดือน 3,000 บาท
  • ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ 1,000 บาท/เดือน
  • ค่าประกันวินาศภัย 1,826.49 บาท/ปี
  • เงื่อนไขสัญญา 3 ปี

ปล. ทุกขนาดมีอุปกรณ์ วัตถุดิบ การจัดหาพนักงาน การฝึกอบรม การจัดวางระบบบัญชี และการตรวจสอบให้ ขณะเดียวกัน สถานที่เช่าบางที่อาจมีค่าแรกเข้า

  • แฟรนไชส์ Coffee World

Coffee World เป็นร้านกาแฟระดับพรีเมี่ยมที่นำเสนอกาแฟหลากหลายทั้งร้อน เย็นและปั่น พร้อมด้วยอาหาร อาทิ วาฟเฟิล และแซนด์วิช นอกจากนี้ Coffee World ยังใส่ใจเป็นอย่างยิ่งในการเลือกและอบเมล็ดกาแฟอาราบิก้าชั้นดีเพื่อนำมาสร้างสรรค์เครื่องดื่มที่ปรุงโดยบาริสต้า (นักปรุงกาแฟมืออาชีพ) ที่ผ่านการฝึกฝนมาอย่างดี เพื่อนำเสนอเครื่องดื่มสูงด้วยคุณภาพ อีกทั้งกาแฟ Coffee World ยังเลือกใช้แต่วัตถุดิบที่สดใหม่มาปรุงเป็นเครื่องดื่ม แทนการใช้ส่วนผสมสำเร็จรูป

รายละเอียด : รูปแบบร้านแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

  • Shop
    • ขนาดพื้นที่ 40-60 ตร.ม. ขึ้นไป : ตั้งอยู่ในอาคาร เช่น อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า อาคารพาณิชย์  แหล่งท่องเที่ยว
    • ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ : 400,000 บาท
    • ค่าประกันแบรนด์ : 200,000 บาท
    • ค่าดำเนินการก่อนเปิดร้าน : 50,000 บาท
    • ค่าสำรวจสถานที่ : 5,000 – 20,000 บาท
    • ค่าออกแบบร้าน : 80,000 – 120,000 บาท
    • ค่าอุปกรณ์ภายในร้าน : 800,000 – 1,000,000 บาท
    • ค่าก่อสร้างตกแต่งร้าน : 900,000 – 1,300,000 บาท
    • Loyalty fee + Marketing Fee 6% + 2% จากยอดขายรายเดือน
    • ค่าเช่าระบบ Software POS 12,000 บาท/ปี
    • อายุสัญญา 6 ปี (Renovate ร้านทุก 3 ปี)
    • รวมการลงทุน : 2,500,000 บาท (ไม่รวมภาษี)
  • Stand Alone
    • ขนาดพื้นที่ 100 ตร.ม. ขึ้นไป : อาคารเดี่ยว ตั้งอยู่บนที่ดินที่มีศักยภาพ มีที่จอดรถ
    • ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ : 400,000 บาท
    • ค่าประกันแบรนด์ : 200,000 บาท
    • ค่าดำเนินการก่อนเปิดร้าน : 50,000 บาท
    • ค่าสำรวจสถานที่ : 5,000 – 20,000 บาท
    • ค่าออกแบบร้าน : 100,000 – 150,000 บาท
    • ค่าอุปกรณ์ภายในร้าน : 900,000 – 1,200,000 บาท
    • ค่าก่อสร้างตกแต่งร้าน : 1,000,000 – 2,000,000 บาท
    • Loyalty fee + Marketing Fee 6% + 2% จากยอดขายรายเดือน
    • ค่าเช่าระบบ Software POS 12,000 บาท/ปี
    • อายุสัญญา 6 ปี (Renovate ร้านทุก 3 ปี)
    • รวมการลงทุน : 3,300,000 บาท (ไม่รวมภาษี)

ปล. ค่าดำเนินการก่อนเปิดร้าน หมายถึง ผู้ฝึกอบรม 5 คน (20,000 บาท), สื่อการตลาด (30,000 บาท) นอกจากนี้ยังได้รับ การตรวจสอบมาตรฐานร้าน และพนักงาน การฝึกอบรม พัฒนาการตลาด การส่งเสริมการขาย คู่มือการปฏิบัติ และอื่นๆ

  • แฟรนไชส์ Black Canyon Coffee

จากจุดเริ่มต้นของกาแฟถ้วยแรก จนบัดนี้กาแฟหลายล้านถ้วยถูกเสิร์ฟให้กับลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติอย่างต่อเนื่องเป็นเครื่องยืนยันว่า “แบล็คแคนยอน” แบรนด์ที่แข็งแกร่งของคนไทยได้ก้าวไกลสู่ระดับสากล โดย “แบล็คแคนยอน” มีการเลือกใช้กาแฟคุณภาพสูงจากโครงการหลวง และนำเข้าจากแหล่งผลิตที่มีชื่อเสียงของโลก ผ่านกระบวนการคั่วเมล็ด โดยเครื่องคั่วกาแฟที่ทันสมัย กาแฟของ “แบล็คแคนยอน” จึงคงไว้ด้วยรสชาติ กลิ่น สี และความสดใหม่อยู่เสมอ

รายละเอียด : รูปแบบร้านแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

  • รูปแบบภัตตาคาร / ร้านอาหาร (Coffee House) จำหน่ายกาแฟ เครื่องดื่ม และอาหาร แบ่งเป็น 2 ประเภท
    • ค่าโรยัลตี้ คำนวณ 3% จากยอดขาย หักค่าวัตถุดิบที่สั่งซื้อจากบริษัทฯ และมีการกำหนดผลตอบแทนขั้นต่ำต่อปี : 200,000 บาท
    • ค่าช่วยส่งเสริมการตลาด คำนวณ 2% จากยอดขายหักค่าวัตถุดิบที่สั่งซื้อจากบริษัทฯ
    • ค่าออกแบบประมาณ 80,000 –150,000 บาท หรือ 8 – 15% ของงบประมาณค่าตกแต่งสถานที่

1.1 Mini – Coffee House จำหน่ายเฉพาะกาแฟ เครื่องดื่ม อาหารว่าง อาหารจานเดียว อาหารประเภทยำ และมีขนาดของพื้นที่ประมาณไม่เกิน 100 ตารางเมตร

  • ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ : 800,000 บาท
  • ค่าประกันความเสียหายและหนี้สิน : 250,000 บาท

1.2 Full – Service Coffee House จำหน่ายกาแฟ เครื่องดื่ม อาหารทุกประเภท มีขนาดพื้นที่ประมาณ 100 – 150 ตารางเมตร

  • ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ : 1,000,000 บาท
  • ค่าประกันความเสียหายและหนี้สิน : 300,000 บาท
  • รูปแบบร้านกาแฟ (Coffee Corner / KIOSK) จำหน่ายเฉพาะกาแฟ เครื่องดื่ม และเบเกอรี่ ขนาดพื้นที่ประมาณ ไม่เกิน 50 ตารางเมตร
    • ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ : 600,000 บาท
    • ค่าประกันความเสียหายและหนี้สิน : 200,000 บาท
    • ค่าโรยัลตี้ คำนวณ 3% จากยอดขาย หักค่าวัตถุดิบที่สั่งซื้อจากบริษัทฯ และมีการกำหนดผลตอบแทนขั้นต่ำต่อปี : 100,000 บาท
    • ค่าช่วยส่งเสริมการตลาด คำนวณ 2% จากยอดขายหักค่าวัตถุดิบที่สั่งซื้อจากบริษัทฯ
    • ค่าออกแบบประมาณ 80,000 –150,000 บาท หรือ 8 – 15% ของงบประมาณค่าตกแต่งสถานที่

  • แฟรนไชส์กาแฟมวลชน

โครงการ “อบรมกาแฟสร้างอาชีพ เพื่อสังคมและชุมชน” เป็นการจัดอบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติให้กับประชาชนและองค์กรทั่วไป โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและเงื่อนไขใดๆ เพื่อเป็นการยกระดับและส่งเสริมธุรกิจกาแฟ ให้เกิดการขยายตัวสร้างอาชีพอย่างยั่งยืนและในปัจจุบันได้มีการร้องขอจากสมาชิก พนักงาน ประชาชน ให้ช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจกาแฟ ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก ประหยัดเวลา และการลงทุน จึงเกิดเป็น “แฟรนไชส์ร้านกาแฟมวลชน” ขึ้นมานั่นเอง

รายละเอียด : รูปแบบร้านแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ คือ

  • Type SS : 255,000 บาท (แบบคีออส)
  • Type S : 470,000 บาท ขนาดพื้นที่ 4-20 ตร.ม.
  • Type M : 655,000 บาท ขนาดพื้นที่ 21-60 ตร.ม.
  • Type L : 845,000 บาท ขนาดพื้นที่ 61-120 ตร.ม.

ปล. ทุกรูปแบบจะได้รับเครื่องและอุปกรณ์ พร้อมเข้ารับการอบรม และได้รับสูตรฟรี

แฟรนไชส์ร้านกาแฟ

  • แฟรนไชส์กาแฟสด Coffee A Day

คอฟฟี่ อะ เดย์” แฟรนไชส์ร้านกาแฟสด ที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคกว่า 10 ปี ที่เราเสริฟกาแฟ หอมละมุน เครื่องดื่มหลากหลาย พร้อมเบเกอร์รี่ และอาหารจานโปรด ให้คุณได้ลิ้มลองความอร่อยแบบมืออาชีพ สุดฟินไปกับบรรยากาศร้าน ที่นั่งแสนสบาย สวยทุกมุม เซลฟี่ปังๆ กับสไตล์ modern loft ที่เราตั้งใจคิดและสร้างสรรค์ไว้เพื่อคุณ
COFFEE A DAY ขยายธุรกิจสาขาแฟรนไชส์ เติบโตอย่างมั่นคงในทำเลที่มีศักยภาพทั่วประเทศ เรา ตระหนักดีในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่อำนาจซื้อของผู้บริโภคลดลงและถามหา “ความสมเหตุสมผล” ในการเลือกซื้อสินค้ามากขึน เราจึงมุ่งเน้นให้ผู้บริโภคทุกระดับอาชีพ ทุกระดับรายได้ ได้รับความพึงพอใจในสินค้าและบริการที่เหนือความคาดหวัง สมกับคำขวัญของแบรนด์ที่ว่า “Better Together” นโยบายของ COFFEE A DAY เราจึงให้ความสำคัญกับ “คุณภาพ” เพราะเป็นตำแหน่งที่มีความมั่นคงสำหรับสินค้า คุณภาพ คือความไว้วางใจในสินค้า ทำให้ผู้บริโภคมีทัศนคติที่ดีต่อคุณสมบัติของสินค้าและมีความซื่อสัตย์ต่อแบรนด์ สินค้าก็จะขายได้ขายดีอย่างสม่ำเสมอ และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภดได้จริงและมีประสิทธิภาพ

รายละเอียดงบประมาณการลงทุนแฟรนไชส์ COFFEE A DAY

  • ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ : 40,000 บาท มีอายุสัญญา 5 ปี (ชำระครั้งเดียว/ต่อสัญญาฟรีไม่ต้องชำระอีก)
  • ค่าลิขสิทธิ์ : 5,000 บาท ต่อปี (เหมาจ่ายรายปี)
  • ค่าการตลาด : 5,000 บาท ต่อปี (เหมาจ่ายรายปี)

ค่าก่อสร้าง ตกแต่งร้าน ป้าย กราฟฟิค เฟอร์นิเจอร์ เครื่องมืออุปกรณ์ ฝึกอบรมพนักงาน จัดGrand Opening
และ อื่นๆ ครบครันทุกรายการพร้อมเปิดร้าน ตามขนาดพื้นที่ ดังนี้

ขนาดพื้นที่ 10 – 20 ตร.ม.

    • ราคา 500,000 ถึง 700,000 บาท (รวม VAT)
    • จำหน่ายเครื่องดื่ม เบเกอร์รี่ สินค้าพรีเมี่ยม สินค้าของฝาก

ขนาดพื้นที่ 30 – 100 ตร.ม.

    • ราคา 900,000 ถึง 2,500,000 บาท (รวม VAT)
    • จำหน่ายเครื่องดื่ม เบเกอร์รี่ อาหารว่าง อาหารจานเดียว สินค้าพรีเมี่ยม สินค้าของฝาก

สถานที่เปิดร้าน
ห้างสรรพสินค้า / พลาซ่า / ตลาด / อาคารสำนักงาน /สถานที่ราชการ / โรงพยาบาล / สถานศึกษา / อาคารพาณิชย์ / จุดแวะพักรถ / พื้นที่ Stand alone เป็นต้น

  • ฟรีค่าสำรวจพื้นที่
  • ฟรีค่าวัดพื้นที่หน้างาน
  • ฟรีค่าเช่า Software / Hardware POS
  • ฟรีค่าที่ปรึกษาธุรกิจและเจ้าหน้าที่ตรวจประเมินมาตรฐานร้าน
  • ฟรีวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ เมล็ดกาแฟ 10 กิโลกรัม, แก้วเครื่องดื่มขนาด 22 ออนซ์ พร้อมฝาปิด 1,000 ใบ,
  • หลอดบรรจุซอง 1,000 หลอด, เสื้อยูนิฟอร์มพนักงานสวยหรู 4 ตัว และผ้ากันเปื้อน 2 ผืนน

ปล. ราคาอาจปรับเพิ่ม-ลด ตามลักษณะพื้นที่หน้างานและระยะทาง

หมายเหตุ : สำหรับ 10 แฟรนไชส์ร้านกาแฟยอดฮิตนั้น เป็นเพียงการรวบรวมข้อมูลแฟรนไชส์กาแฟที่ชื่อฮิตติดตลาดของเมืองไทย เพื่อเป็นแนวทางและข้อมูลเบื้องต้นในการทำธุรกิจเท่านั้น ไม่ได้มีการจัดอันดับใดๆ ทั้งสิ้น

ทุกการลงทุนล้วนมีความเสี่ยง ผู้สนใจควรศึกษาข้อมูลและวางแผนก่อนการลงทุน ว่าใช้งบประมาณเท่าไร ทำเลที่ตั้งร้านที่ไหนดี มีการวางแผนการจัดการธุรกิจ วางแผนทางการเงิน เพื่อที่ธุรกิจจะได้ประสบความสำเร็จถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ไม่มีอะไรที่คนเราจะประสบความสำเร็จ ถ้าไม่ลงมือทำขอให้ประสบณ์ความสำเร็จทุกท่านค่ะ

advertisement

About Admin

"สยามอาชีพ" อาชีพเสริม สร้างอาชีพ สร้างรายได้

Leave a Reply

Your email address will not be published.