สิ่งหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกันนั่นคือจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและขยะ โดยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความต้องการใช้สินค้าอุปโภค บริโภค ฯ จึงมีมากขึ้น และทำให้เกิดเป็นเศษซากสิ่งของเหลือใช้ และเมื่อเศษซากเหล่านั้นสะสมนานเข้าก็มีปริมาณมากขึ้น จึงก่อให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอย ขยะมูลฝอย หรือแม้แต่ของเสียต่างๆ ไม่ว่าสิ่งใดก็สิ่งหนึ่งล้วนเป็นตัวการของปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อประเทศ ต่อประชากร ต่อสุขภาพอนามัย ประกอบกับภาคอุตสาหกรรมในบ้านเรามีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงยิ่งก่อให้เกิดขยะมูลฝอยใหม่ ๆ และยากต่อการจัดเก็บมากมาย เพราะวัตถุดิบหลักหรือผลิตภัณฑ์หลักของภาคอุตสาหกรรมคือพลาสติก โดยในแต่ละปีมีการผลิตพลาสติกมากถึงสาม 3 แสนตันต่อปี และมีการแปรรูปพลาสติกเหล่านั้นมาใช้งาน เช่น การแปรรูปเป็นสินค้าต่างๆ เสื้อผ้า คอนโซลรถ ขวดน้ำ เป็นต้น ปัญหาของพลาสติกที่พบและส่งผลต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมระยะยาวเพราะพลาสติกใช้เวลาในการย่อยสลายมากกว่าอายุคนหนึ่งคนเสียอีก ยกตัวอย่างถุงก๊อปแก๊ปหรือถุงพลาสติกเพียงหนึ่งใบใช้เวลาย่อยถึงกว่าสี่ร้อยปี ในขณะที่ปริมาณการผลิตและความต้องการใช้พลาสติกมีมากขึ้น แต่การจัดเก็บเป็นไปได้น้อยกว่ามาก จึงไม่สงสัยว่าทำไมขยะ ที่รวมไปถึงเศษซากเหล็ก ซากกระดาษ เศษอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ฯ จึงล้นโลกได้ขนาดนี้
หากจะแบ่งขยะออกเป็นประเภทตามส่วนประกอบ อาจจะมีมากมายถึง 7 ประเภท คือ
- จำพวกกระดาษ ได้แก่ ถุง กล่อง ลังกระดาษ เศษกระดาษจากสำนักงาน
- จำพวกพลาสติก พวกนี้ทำลายยากมาก
- จำพวกแก้ว ได้แก่ ขวด กระจก ฯลฯ
- จำพวกเศษอาหาร พวกนี้ย่อยสลายได้ง่าย แต่ก็เกิดทั้งกลิ่นเหม็น ทั้งการเน่าบูด
- จำพวกผ้า และเส้นใย
- จำพวกยางและหนัง
- จำพวกเศษไม้ เช่นเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เก้าอี้เก่า
- จำพวกหิน กระเบื้อง และ โลหะต่างๆ ทั้งนี้ จากประเภทขยะ 7-8 ประเภทด้านบน หากจัดลำดับปริมาณขยะที่เกิดขึ้น จากมากไปน้อยได้ดังนี้
กระดาษ ปริมาณขยะที่เกิดขึ้น 4 ล้านตัน
เหล็ก ปริมาณขยะที่เกิดขึ้น 3 ล้านตัน
แก้ว ปริมาณขยะที่เกิดขึ้น 2.5 ล้านตัน
พลาสติก ปริมาณขยะที่เกิดขึ้น 2 ล้านตัน
อะลูมิเนียม ปริมาณขยะที่เกิดขึ้น 5.4 แสนตัน
ยาง ปริมาณขยะที่เกิดขึ้น 5.2 แสนตัน
แม้ว่าทั้งหมดที่กล่าวคือด้านมืดของขยะที่รอวันแก้ไข แต่ในอีกมุมหนึ่งของการสร้างรายได้ อาชีพเสริมจากขยะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วจริงๆ อาชีพเสริมเกี่ยวกับการรับซื้อของเก่าเป็นอาชีพเสริมที่แม้ว่าจะหากินอยู่กับความเน่าเสีย เลอะเทอะและสกปรก แต่คนที่คิดทำอาชีพเสริมนี้ กลับมองว่ามันคือขุมทองดีๆ นี่เอง จากข้อมูลข้างบนแค่รับซื้อกระดาษไปขายโอกาสรวยก็มาเคาะประตูบ้านแบบเห็นๆ และหากคิดจะทำอาชีพเสริมนี้ ลองถามตัวเองก่อนว่าจะจัดตัวเองอยู่ในประเภทใดระหว่าง รับซื้อของเก่า, รับย่อยขยะพลาสติก หมายถึงรับซื้อขยะและนำมาบดย่อย, รับหลอมรีด และตัดพลาสติก เพื่อเตรียมจำหน่ายเม็ดพลาสติกรีไซเคิลใต่อโรงงานผลิตพลาสติกต่อไป, รับผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิล เพราะทั้งหมดมีตัวแปรที่ต้องคำนึงคือเงินลงทุน สำหรับอาชีพเสริม คุณอาจไม่ต้องก้าวกระโดดมาก จริงๆ แนะนำว่าเริ่มจากขั้นแรกคือการรับซื้อของเก่า และนอกจากนี้คุณยังต้องมีการเตรียมการด้านพื้นที่ที่ไม่จำเป็นต้องใหญ่โตนักเพราะนี่คืออาชีพเสริมของคุณ แต่สำคัญที่ทำเล ทำเลต้องไม่อยู่ใกล้ชุมชนจนเกินไป เพราะทั้งกลิ่น และฝุ่นละอองอาจส่งผลต่อคนหมู่มาก และเมื่อเกิดการไม่พอใจอาชีพนี้ของคุณอาจดับวูบได้ ทำเลควรอยู่ในที่ที่มองเห็น แต่ไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่ใจกลางชุมชนจ๋าจนเกินไป ต่อมาคือพื้นที่ในการจัดเก็บ ยิ่งมีพื้นที่เหมาะสมยิ่งทำให้คุณสต็อกขยะเพื่อการขายได้ และยังต้องมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ ซึ่งหาอ่านได้จากอินเทอร์เน็ตหรือแม้แต่การเข้าอบรม เสียเงินเพียงนิดหน่อย แต่สามารถใช้ความรู้นั้นได้ในทันที และเหนืออะไรทั้งหมด ขอให้ปรับมุมมองต่อขยะเสียก่อนเพราะอาชีพรับซื้อของเก่านี้ เป็นอาชีพที่คลุกคลีอยู่บนความสกปรก แต่ทว่า เป็นความสกปรกที่จัดการได้ และส่งผลดีต่อสังคมและโดยรวม ลำพังการรณรงค์จากภาครัฐให้ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ให้คัดแยกขยะอาจไม่เพียงพอ อาชีพเสริมรับซื้อของเก่านี้เป็นกลไกที่มีส่วนสำคัญอย่างมากในการลดปัญหาขยะล้นโลก ถ้าคิดบวกได้แบบนี้ เชื่อมั่นว่า อาชีพเสริมรับซื้อของเก่าจะทำให้คุณไม่ท้อถอยต่อคำสงสัยของผู้คน ว่าทำไมคุณเลือกอาชีพนี้
ในปัจจุบันขยะก็มีเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนประชาการและทรัพยากร อาชีพขายของเก่าจึงเป็นอาชีพที่ได้ผลประโยชน์จากจุดนี้ จึงทำให้เกิดธุรกิจแฟรนไชส์ในการซื้อขยะรีไซส์เคิลหรือซื้อของเก่านั้นเอง
แฟรนไชส์รับซื้อของเก่าถือเป็นธุรกิจที่น่าสนใจมากในยุคนี้ แต่รายจ่ายในต้นทุนที่ใช้ในการลงทุนก็สูงอยู่เช่นกัน ไม่ขยะเหมือนที่คิดไว้แน่ แต่แน่นอนว่าผลตอบแทนที่ได้กลับมาคุ้มค่ามาก
แฟรนไชส์ในการรับซื้อของเก่ามีหลายตัวเลือกให้ผู้ที่สนใจธุรกิจนี้ได้เลือกตามกำลังและความเหมาะสม เช่น
ไซส์ a : แฟรนไชส์ 150000 บาท
– ตาชั่งกิโลดิจิตอล 300 kgs.
– ชุดคอมพิวเตอร์
– ป้ายร้าน
– รถเข็น
– ถุงแยกขยะ 10 ใบ
– นามบัตร 100 ใบ
– เสื้อพนักงาน 5 ตัว
ไซส์ b : แฟรนไชส์ 500000 บาท
– เครื่องบดพลาสติกขนาด 20 แรง
– ตาชั่งกิโลดิจิตอล 500 kgs.
– ชุดคอมพิวเตอร์ + ปริ้นเตอร์
– กล้อง CCTV 4 ตัว
– GPS TRACKING
– ถุงแยกขยะ 20 ใบ
– นามบัตร 300 ใบ
– เสื้อพนักงาน 12 ตัว
– พร้อมระบบ Software ในการดำเนินการจัดการ
ไซส์ c : แฟรนไชส์ 700000 บาท
– เครื่องบดพลาสติกขนาด 40 แรง
– ตาชั่งกิโลดิจิตอล 500 kgs.
– ชุดคอมพิวเตอร์ + ปริ้นเตอร์
– กล้อง CCTV 8 ตัว
– GPS TRACKING
– ถุงแยกขยะ 50 ใบ
– นามบัตร 600 ใบ
– เสื้อพนักงาน 20 ตัว
– พร้อมระบบ Software ในการดำเนินการจัดการ
– ประกันราคาซื้อ
โดยขนาดของแฟรนไชส์ที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงการยกตัวอย่าง แต่แน่นอนว่ายิ่งแฟรนไชส์ที่มีขนาดใหญ่เงินลงทุนยิ่งสูงและกำไรที่มากขึ้นด้วย แต่ก็ต้องแลกมาพร้อมความเสี่ยง เหมือนคำที่ว่า “การลงทุนคือความเสี่ยง”
ธุรกิจนี้ไม่ใช่ซื้อมาขายไปเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการบริหารจัดการแรงงานคัดแยกวัสดุบริหารเงินทุนเมื่อเปิดร้านแล้วไม่สามารถซื้อเพียงเศษเหล็กอย่างเดียวได้