การออมการลงทุนมีจุดประสงค์ทำเงินต้นที่มีอยู่เกิดดอกเบี้ยให้ได้มากที่สุด แต่ความเป็นจริงในโลกใบนี้ยังมีอัตราเงินเฟ้อเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นปัจจัยที่ทำให้ดอกเบี้ยที่เราควรจะได้เยอะนั้นกลับได้น้อยลง …แล้วอัตราเงินเฟ้อนี้คืออะไร ?
เงินเฟ้อเกิดจากหลายปัจจัย อย่างเช่น
- ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น (ค่าจ้างแพงขึ้น วัตถุดิบแพงขึ้น ผู้ประกอบการต้องการกำไรมากขึ้น)
- ค่าน้ำมันแพงขึ้น (ต้นทุนในการผลิตและการขนส่ง)
- ความต้องการสินค้าในตลาดมีมากขึ้น
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ อัตราเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งตลาด ถ้าสินค้าคือข้าวของทุกอย่างแพงขึ้นตามๆกันไปหมด ถ้าสินค้าราคาปรับขึ้นตัวเดียวอย่างนี้ไม่เรียกเงินเฟ้อ
ยกตัวอย่างที่เห็นได้ทั่วไป คือราคาอาหาร เมื่อ 10 ปีที่แล้วก๋วยเตี๋ยวชามละ 15 บาท ทุกวันนี้ก๋วยเตี๋ยวชามเดิม ปริมาณเท่าเดิม ราคา 35 บาท ทำให้เราต้องจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อซื้อก๋วยเตี๋ยว 1 ชาม
รวมถึงอัตราดอกเบี้ยธนาคารด้วย การที่ดอกเบี้ยธนาคารปรับลดลงเรื่อยๆอย่างนี้ก็เรียกว่าเงินเฟ้อ จากแต่ก่อนดอกเบี้ยได้เยอะมาก คนจึงนิยมนำเงินไปฝากธนาคารไว้แล้วกินดอก แต่ทุกวันนี้ดอกเบี้ยธนาคารลดลงเยอะมากเช่นกันเฉลี่ยเหลือเพียงร้อยละ 1.5-3.0 เท่านั้นเอง ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่าภาครัฐอยากให้ผู้คนนำเงินไปหมุนหรือลงทุนในตลาดเพื่อให้เกิดสภาพคล่อง
ทำอะไรดีให้ดอกเบี้ยมากกว่าอัตราเงินเฟ้อ
ด้วยตัวอย่างที่กล่าวมา การที่เราเอาเงินไปเก็บไว้ในธนาคารนั้นจึงเป็นเรื่องที่อันตรายเสียแล้ว ถ้าอยากมีผลตอมแทนมากกว่าอัตราเงินเฟ้อเราต้องหาวิธีการอื่นอย่างเช่น “ลงทุน” ทุกวันนี้มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินมากมายที่ชวนให้มนุษย์เงินเดือนอย่างเราไปลงทุน
อย่างเช่น กองทุนรวม การเล่นหุ้น แต่ถ้าใครไม่มีความรู้เรื่องหุ้นก็อาจจะเลือกการออมในหุ้นก็ได้ ถ้าใครไม่ชอบความเสี่ยงก็อาจจะเลือกการฝากประจำ เพราะดอกเบี้ยสูงกว่าการฝากเงินออมทรัพย์ในธนาคาร การซื้อประกันก็เป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบรับที่ดีมากอีกวิธีหนึ่ง (แต่คนอาจจะไม่ชอบเพราะวิธีการขายของเซลล์ที่ชอบตื้อ)