สำหรับวันนี้ สยามอาชีพ.คอม นำเกร็ดความรู้เกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว ที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยหรือนายจ้างอยากได้ลูกจ้างที่เป็นคนต่างด้าว ก็จำเป็นต้องรู้เพื่อคุ้มครองสิทธิทั้งตัวลูกจ้างและตัวนายจ้างเอง
เลือกใช้แรงงานต่างด้าว เลือกอย่างไรให้ถูกกฎหมาย
คนต่างด้าว หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
สำหรับนายจ้าง ที่ต้องการหาแรงงานต่างด้าวมาทำงาน มีข้อปฏิบัติดังนี้
- รับคนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานกับตนเท่านั้น
- ไม่รับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตเข้าทำงานกับตน หรือทำงานที่มีลักษณะงาน หรือเงื่อนไขต่างไปจากที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต
ส่วนแรงงานต่างด้าว มีข้อปฏิบัติดังนี้
- ถือใบอนุญาตทำงานไว้กับตัว หรือ ณ สถานที่ทำงาน
- ทำงาน ตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตทำงานเท่านั้น
- กรณี ใบอนุญาตทำงานชำรุด สูญหาย ยื่นขอใบแทนภายใน 15 วัน
- กรณี เปลี่ยน/เพิ่ม การทำงาน สถานที่ทำงาน ท้องที่การทำงาน หรือ นายจ้าง ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนก่อนจึงจะทำงานนั้นได้
ระยะเวลาในการอนุญาต
คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA) จะพิจารณาให้ตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 1 ปี และให้มีอายุเท่าระยะเวลาที่คนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรในขณะออกใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือตามกฎหมายอื่น (มาตรา 10) จะได้รับอนุญาตตามระยะเวลาซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอนุญาตใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว
ตามมาตรา 12 ซึ่งสามารถทำงานได้ 27 อาชีพตามที่รัฐมนตรีกำหนดมีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีกรณีคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวโดยไม่มีกำหนดเวลาแน่นอนให้มีอายุ 30 วันนับแต่วันออกใบอนุญาต มีดังนี้
- กรรมกร (ทั่วไป) กรรมกร (ก่อสร้าง)
- คนสวน
- เลี้ยงสัตว์ ยกเว้น งานเลี้ยงไหม
- ช่างปูน
- ช่างไม้ก่อสร้าง
- ช่างทาสี
- ช่างไม้เครื่องเรือน
- พนักงานซักรีดเสื้อผ้า
- ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า ยกเว้นเสื้อผ้าสตรี
- พนักงานขายอาหารและเครื่องดื่ม
- พนักงานผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
- พนักงานขายของหน้าร้าน
- ช่างซ่อมจักรยาน
- ช่างซ่อมเบาะรถ
- ช่างซ่อมตัวถังรถ
- ช่างซ่อมท่อไอเสียรถ
- ช่างบัดกรีโลหะแผ่นด้วยมือ
- ช่างเลื่อยไม้ในโรงงานแปรรูปไม้
- ช่างซ่อมประตูหน้าต่าง
- ช่างติดตั้งมุ้งลวด
- ช่างย้อมผ้า
- ช่างซ่อมรองเท้า
- ช่างซ่อมนาฬิกา, ปากกา, แว่นตา
- ช่างลับมีด
- ช่างทำกรอบรูป
- ช่างทำเครื่องทองและเครื่องเงิน
- ช่างทอถักไหมพรมและทอผ้า ด้วยมือ
มาตรา 4 ให้กำหนดงานในอาชีพหรือวิชาชีพ ตามที่ระบุไว้ในบัญญัติท้ายพระราชกฤษฎีกานี้เป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ เพื่อการค้าหรือหารายได้โดยเด็ดขาดในทุกท้องที่ในราชอาณาจักร 39 อาชีพ มีดังต่อไปนี้
- งานกรรมกร
- งานกสิกรรรม งานเลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรืองานประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญ งานเฉพาะสาขา หรืองานงานควบคุมดูแลฟาร์ม
- งานก่ออิฐ งานช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น
- งานแกะสลักไม้
- งานขับขี่ยานยนต์ หรืองานขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องกล ยกเว้นงานขับขี่เครื่องบินระหว่างประเทศ
- งานขายของหน้าร้าน
- งานขายทอดตลาด
- งานควบคุม ตรวจสอบหรือให้บริการบัญชี ยกเว้น งานตรวจสอบภายในชั่วคราว
- งานเจียระไน หรือขัดเพชรหรือพลอย
- งานตัดผม งานดัดผม หรืองานเสริมสวย
- งานทอผ้าด้วยมือ
- งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ปอ ฟาง หรือเยื่อไม้ไผ่
- งานทำกระดาษสาด้วยมือ
- งานทำเครื่องเขิน
- งานทำเครื่องดนตรีไทย
- งานทำเครื่องถม
- งานทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก
- งานทำเครื่องลงหิน
- งานทำตุ๊กตาไทย
- งานทำที่นอนผ้าห่มนวม
- งานทำบาตร
- งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ
- งานทำพระพุทธรูป
- งานทำมีด
- งานทำร่มด้วยกระดาษหรือผ้า
- งานทำรองเท้า
- งานทำหมวก
- งานนายหน้า หรืองานตัวแทน ยกเว้น งานนายหน้าหรืองานตัวแทนในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
- งานในวิชาชีพวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา ที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบ วิจัย วางโครงการ ทดสอบ ควบคุมการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ ทั้งนี้ไม่รวมที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ
- งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับงานออกแบบเขียนแบบ ประมาณราคา อำนวยการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ
- งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย
- งานปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา
- งานมวนบุหรี่ด้วยมือ
- งานมัคคุเทศก์ หรืองานจัดนำเที่ยว
- งานเร่ขายสินค้า
- งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ
- งานสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ
- งานเสมียนพนักงานหรืองานเลขานุการ
- งานให้บริการทางกฎหมายหรืออรรถคดี
**หมายเหตุ ตามมติคณะรัฐมนตรี ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (พม่า ลาว และกัมพูชา)
ทำงานได้ 2 อาชีพ คือ 1. งานกรรมกร และ 2. งานบ้าน
คนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานแล้ว ต้องปฏิบัติดังนี้
- มีใบอนุญาตติดตัวไว้หรือมีอยู่ ณ ที่ทำงานในระหว่างทำงานเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 10,000.- บาท)
- ทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตทำงาน (มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับตั้งแต่ 2,000.- บาท ถึง 100,000.- บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ต้องทำงานตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น หากประสงค์จะทำงานอื่น หรือเปลี่ยนท้องที่หรือสถานที่ในการทำงาน ต้องได้รับอนุญาตก่อน (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 20,000.- บาท)
- ก่อนใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุ และประสงค์จะทำงานต่อต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนจึงจะทำงานได้
- กรณีใบอนุญาตชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นขอใบแทนใบอนุญาตภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบ
- กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล สัญชาติ ที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว หรือชื่อสถานที่ทำงาน ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขโดยไม่ชักช้า
ที่มาจาก : สำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว