อาชีพอาเซียน กำหนดการเปิด AEC จริงๆแล้วมีกำหนดเปิดไปตั้งแต่ 1 มกราคม 2015 แต่เนื่องจากยังมีข้อตกลงอยู่หลายๆข้อที่ยังตกลงกันไม่ได้ ผู้นำชาติอาเซียนจึงตัดสินใจ ประกาศเลื่อนออกไป เป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2015 ซึ่งนี่ก็ใกล้เข้ามาทุกทีๆ เมื่อเปิด AEC อาชีพที่จะได้รับผลประโยชน์ทันทีมีอยู่ 7 อาชีพ เป็นอาชีพที่มีข้อตกลงร่วมกันแล้วว่า จะสามารถมีการเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างอิสระเสรีใน 10 ประเทศ อาชีพทั้ง 7 นี้ได้แก่
- วิศวกร (Engineering Service)
- แพทย์ (Medical Practitioners)
- ทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
- พยาบาล (Nursing Services)
- สถาปนิก (Architectural Services)
- นักสำรวจ (Surveying Qualifications)
- นักบัญชี (Accountancy Services)
ข้อมูลอ้างอิง : : http://www.nstda.or.th/news/15172-freelance
ถึงแม้ว่าจะมีถึง 7 อาชีพที่เปิดโอกาสให้ มีการเคลื่อนย้ายแรงงานกันได้อย่างเสรี แต่ยังมี อีกอาชีพหนึ่งที่สงวนไว้ให้กับคนไทยอยู่นั่นก็คือ อาชีพไกด์ หรือมัคคุเทศก์
เป็นไงคะ ทีนี้เริ่มเห็นหนทางสู่อาชีพเสริมกันรึยัง คำถามต่อไปคือ
อยากเป็นไกด์ เริ่มต้นจากตรงไหน
จริงๆแล้วในมหาวิทยาลัยจะมีวิชาที่เรียนจบออกมาแล้วเป็นไกด์ได้โดยตรง หรือเรียนสาขาที่ใกล้เคียงแล้วนำมาประยุกต์และไปสอบเป็นไกด์ได้ภายหลัง อย่างเช่น คณะศิลปะศาตร์ สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม, คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว, นิเทศศาสตร์, เป็นต้น
แต่ถ้าวันนี้คุณจบมานานแล้วและเพิ่งมาค้นพบตัวเองว่า “ฉันอยากเป็นไกด์จัง” ก็ยังไม่ต้องหมดหวังไป โอกาสยังมีอยู่ค่ะ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (หรือกระทรวงอื่นๆที่เกี่ยวข้อง) มีการร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา จัดอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์ ให้กับบุคคลทั่วไปที่อยากจะเป็นไกด์อยู่เรื่อยๆค่ะ มีกันหลายมหาลัยเลยค่ะ เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, มาหวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งเป็นลักษณะการอบรมณ์ระยะสั้น 3-6 เดือนแล้วแต่หลักสูตรค่ะ
ข้อมูลคร่าวๆในหลักสูตร
(**แต่ละหลักสูตรมีรายละเอียดแตกต่างกัน ทั้งนี้สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้จากสถาบันการศึกษา**)
- ระยะเวลา3-6 เดือน แล้วแต่หลักสูตร ซึ่งมีการบรรยายและทัศนศึกษา
- วัน เวลาในการฝึกอบรม ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ หรือ วันธรรมดาหลังเลิกงาน
- มีการศึกษานอกสถานที่
- มีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมด้วยนะ
- เป็นหลักสูตรที่เกิดจากสถาบันการศึกษาและกระทรวงของภาครัฐ จึงมีความน่าเชื่อถือ
- วิทยากรเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ
- หัวข้อที่ใช้ในการอบรมมีประโยชน์และนำไปใช้ได้จริง เช่น ความรู้ประวัติศาสตร์, เทศกาลและงานประเพณี, สถานที่ท่องเที่ยว, การใช้ภาษาในอาชีพมัคคุเทศก์, บทบาทหน้าที่ จรรยาบรรณและวิธีปฏิบัติงานของมัคคุเทศก์,พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ เป็นต้น
เมื่อเรียนจบหลักสูตรแล้ว นำใบประกาศนียบัตรผ่านการอบรม, วุฒิการศึกษาและเอกสารประกอบ ไปขอรับใบอนุญาตที่ สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ โดยผุ้ขอรับใบอนุญาตจะต้องเป็นสมาชิกของสมาคมมัคคุเทศก์แห่งใดแห่งหนึ่งตามประกาศ
ผู้ที่จะเป็นไกด์ ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
ผู้ประกอบอาชีพนี้ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- พูดภาษาต่างประเทศได้อย่างน้อย 1 ภาษาคือ ภาษาอังกฤษ
- มีความรู้ทั่วไป และเป็นผู้ที่ขวนขวายหาความรู้สม่ำเสมอ
- รักการเดินทางท่องเที่ยว และงานบริการ ปรับตัวได้ และเป็นนักแก้ไขปัญหาได้ดีใน ทุกสถานการณ์
- มีความยืดหยุ่น ประนีประนอม และมีลักษณะอบอุ่นโอบอ้อมอารีเป็นที่ไว้วางใจของ ผู้เดินทางร่วมไปด้วย
- มีความเป็นผู้นำ มีความกล้า มีความรอบคอบและไม่ประมาท
- มีทัศนะคติดี ร่าเริง มีความเสียสละซื่อสัตย์ ซื่อตรง และอดทน
- สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีไหวพริบและปฏิภาณดี
- มีความคิดสร้างสรรค์ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
- เป็นนักสื่อสารที่ดี รักการอธิบาย และการบรรยายความรู้ต่าง ๆ
- เป็นนักจัดเก็บข้อมูลที่ดี ทั้งข้อมูลการ ท่องเที่ยว ความนิยมของลูกค้า และรายชื่อลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยว
ข้อมูลอ้างอิง : http://vimonsiri-mimew.blogspot.com/2010/05/blog-post_9518.html